วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

บริการข้อมูลมัลติมิเดีย

บริการข้อมูลมัลติมิเดีย
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ เปิดให้บริการศูนย์มัลติมีเดียเพื่อสนับสนุนงาน การเรียนการสอน และการวิจัยโดยจัดให้มีการบริการ เพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ ด้านมัลติมีเดียอย่างครบครัน ทันต่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ ได้แก่
บริการถ่ายภาพ - บริการถ่ายภาพติดบัตรพร้อมพิมพ์ ด้วยกล้องถ่ายภาพแบบดิจิตอล
บริการพิมพ์สี/พิมพ์โปสเตอร์ - ให้บริการพิมพ์งานด้วยเครื่องพิมพ์สี และเครื่องพิมพ์โปสเตอร์สี ขนาด A4 - A0
บริการแปลงข้อมูล - แปลงภาพจากแผ่นสไลด์หรือภาพถ่ายเป็นไฟล์ข้อมูลแบบดิจิตอล (JPG) - แปลงภาพจากวิดีโอหรือกล้องวิดีโอแบบดิจิตอลเป็นไฟล์ข้อมูลภาพแบบดิจิตอล (MPEG, AVI) ลงแผ่นซีดี- แปลงข้อมูลเสียง (ในแผ่นซีดีหรือเทปบันทึกเสียง) เป็นไฟล์ข้อมูลเสียงแบบดิจิตอล (WAV, MP3) - แปลงไฟล์เอกสารดิจิตอลเป็นไฟล์แบบ PDF
บริการสำเนาซีดี บริการสำเนาซีดีด้วยเครื่องเขียนซีดีความเร็วสูง มีทั้งระบบการเขียนผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ และระบบการเขียนด้วยเครื่องทำสำเนาซีดีแบบอัตโนมัติ
Edutainment Media Square มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีนโยบาย ในการพัฒนามหาวิทยาลัยไปสู่มหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์ โดยได้ดำเนินการพัฒนาระบบโครงสร้างเทคโนโลยีสารสนเทศเครือข่าย หลักความเร็วสูง ให้มีความสามารถในการรองรับการกระจายของสื่อต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้มีการประยุกต์ใช้งานในหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้เกิดความบันเทิง และผ่อนคลายจากการทำงานของบุคลากร และการเล่าเรียนของนิสิต ประกอบไปด้วยNontri TV - View TV online เป็นระบบการประยุกต์ใช้งานเครือข่าย เพื่อการถ่ายทอดการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์จำนวน 6 ช่องผ่านเครือข่าย เพื่อเกิดประโยชน์และการใช้งานสูงสุด และเป็นแนวทางในการประยุกต์การ ใช้งานเครือข่ายเพื่อกิจการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เช่น ระบบถ่ายทอดสื่อการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย งานด้านระบบความปลอดภัยในมหาวิทยาลัย ซึ่งรวมถึงการรายงานสภาพการจราจรภายในและบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัย ตลอดจนการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่ทันเหตุการณ์ Nontri Live - Live Now เป็นระบบการถ่ายทอดสด กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยจะออกอากาศสดตามตารางเวลา และให้รับชมการถ่ายทอดสด ได้ผ่านทางเว็บเพจ และเมื่อผ่านการถ่ายทอดสดก็จะอัดเก็บเอาไว้เพื่อเรียกดูในภายหลังได้

บริการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล

บริการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล

บริการการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล หรือบริการ FTP (File Trasfer Protocol) เป็นบริการของอินเทอร์เน็ตอย่างหนึ่งที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนิยมใช้ โดยผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ข้อมูลตัวหนังสือ รูปภาพ เสียง วีดิโอ หรือโปรแกรมต่างๆ ซึ่งการถ่ายโอนข้อมูลนั้นมีอยู่ 2 ลักษณะคือ
การถ่ายโอนไฟล์ข้อมูลที่อยู่ในเครื่องของเราไปยังคอมพิวเตอร์ที่เป็นโฮสต์ (Host) เรียกว่า การอัปโหลด (Upload) ทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นสามารถใช้งานจากข้อมูลของเราได้
การที่เราถ่ายโอนไฟล์ข้อมูลจากโฮสต์อื่นมายังคอมพิวเตอร์ของเราเรียกว่า การดาวน์โหลด (Download)
ในการนำดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ มาใช้นั้น มีบริการอยู่ 2 ประเภท คือ Private FTP หรือ เอฟทีพีเฉพาะกลุ่ม นิยมใช้ตามสถานศึกษาและภายในบริษัท ผู้ใช้บริการจะต้องมีรหัสผ่านเฉพาะจึงจะใช้งานได้ ประเภทที่สองคือ Anonymous FTP เป็นเอฟทีพีสาธารณะให้บริการดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลฟรีโดยไม่ต้องมีรหัสผ่าน ซึ่งปัจจุบันมีบริการในลักษณะนี้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะโปรแกรมซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ที่ทางบริษัทต่างๆ คิดค้นขึ้นมาและต้องการเผยแพร่ไปสู่สาธารณชน ก็จะนำโปรแกรมมานำเสนอไว้ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตคนใดสนใจก็สามารถใช้เอฟทีพีดึงเอาโปรแกรมเหล่านั้นมาใช้งานได้ โดยโปรแกรมที่สามารถดาวน์โหลดได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เรียกว่า ฟรีแวร์ (Freeware) และโปรแกรมที่สามารถดาวน์โหลดมาทดลองใช้ก่อน ซึ่งหากพอใจก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อตัวโปรแกรม เรียกว่า แชร์แวร์ (Shareware)

บริการด้านการรับส่งข่าวสารและแสดงความคิดเห็น

บริการด้านการรับส่งข่าวสารและแสดงความคิดเห็น

เป็นบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีเครื่องมือในการรับส่งข่าวสารและแสดงความคิดเห็น ระหว่างผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตหลายหลายวิธีการ ดังนี้
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
อีเมล์ หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นบริการอินเทอร์เน็ตชนิดหนึ่งที่ผู้คนนิยมใช้มากที่สุด และเป็นประโยชน์ต่อคนทั่วไป ให้สามารถติดต่อรับส่งข้อมูลระหว่างกันได้อย่างรวดเร็ว
อีเมล์ เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ย่อมาจาก Electronic Mail ในภาษาไทยบางครั้งเรียกว่า จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนในพจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ใช้คำว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยอีเมล์เป็นวิธีการติดต่อสื่อสารด้วยตัวหนังสือแบบใหม่ แทนจดหมายบนกระดาษ แต่ใช้วิธีการส่งข้อความในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ จากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังผู้รับอีกเครื่องหนึ่ง
อีเมล์แอดเดรส (E-mail Address) คือ ที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต หรือที่อยู่ของตู้จดหมายของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ใช้สำหรับบอกตำแหน่งของผู้รับว่าอยู่ที่ไหน
ส่วนประกอบของอีเมล์แอดเดรส ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ ดังตัวอย่างนี้
ชื่อบัญชีสมาชิกของผู้ใช้เรียกว่า user name อาจใช้ชื่อจริง ชื่อเล่น หรือชื่อองค์กรก็ได้
ส่วนนี้คือเครื่องหมาย @ (at sign) อ่านว่า "แอท"
ส่วนที่สามคือ โดเมนเนม (Domain Name) เป็นที่อยู่ของอินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ ที่เราสมัครเป็นสมาชิกอยู่ เพื่ออ้างถึงเมล์เซิร์ฟเวอร์
ส่วนสุดท้ายเป็นรหัสบอกประเภทขององค์กรและประเทศ ในที่นี้คือ .co.th โดยที่ .co หมายถึง commercial เป็นบริการเกี่ยวกับการค้า ส่วน .th หมายถึง Thailand อยู่ในประเทศไทย
Mailing List
หรือรู้จักกันทั่วไปในนามของ Listserv’s เป็นบริการที่ผู้ใช้สามารถเข้ากลุ่มร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อที่ตนเองสนใจโดยผ่านทางอีเมล์ โดยจดหมายที่ส่งเข้าสู่ระบบ Mailing List จะถูกส่งไปยังรายชื่อทั้งหมดที่ได้ลงทะเบียนไว้ในระบบ นอกจากนี้ยังใช้ในการลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสารเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลที่มีผู้ใช้สนใจด้วย
นิวส์กรุ๊ป (Newsgroup) หรือ ยูสเน็ต (UseNet)
นิวส์กรุ๊ป (Newsgroup) หรือ ยูสเน็ต (UseNet) คือ การรวมกลุ่มของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน เช่น กลุ่มที่สนใจเรื่องคอมพิวเตอร์ รถยนต์ การเลี้ยงปลา การปลูกไม้ประดับ เป็นต้น เพื่อส่งข่าวสารหรือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างกัน ในลักษณะของกระดานข่าว (Bulletin Board) บนอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้สามารถเลือกหัวข้อที่สนใจและสามารถแสดงความคิดเห็นได้ โดยการส่งข้อความไปยังกลุ่ม และผู้อ่านภายในกลุ่มจะมีการร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นและส่งข้อความ กลับมายังผู้ส่งโดยตรงหรือส่งเข้าไปในกลุ่มเพื่อให้ผู้อื่นอ่านด้วยก็ได้
การสนทนา (Talk)
เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถพูดคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่นๆ ที่เชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ตในเวลาเดียวกัน โดยการพิมพ์ข้อความผ่านทางแป้นพิมพ์ พูดคุยผ่านทางคอมพิวเตอร์โดยมีการตอบโต้กันทันที การสนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ตนี้สามารถใช้โปรแกรมได้หลายโปรแกรม เช่น โปรแกรม Talk สำหรับการสนทนาเพียง 2 คน โปรแกรม Chat หรือ IRC (Internet Relay Chat) สำหรับการสนทนาเป็นกลุ่ม หรือโปรแกรมไอซีคิว (ICQ) เป็นการติดต่อสื่อสารกับคนอื่นๆ บนอินเทอร์เน็ตทางหนึ่ง คุณสมบัติที่โดดเด่นของไอซีคิวคือ การสนทนาแบบตัวต่อตัวกับคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ หรือสนทนาพร้อมกันหลายๆ คนก็ได้ และที่สำคัญคือการใช้ไอซีคิวนั้น ผู้ใช้สามารถเลือกสนทนากับใครโดยเฉพาะ และเลือกที่จะไม่สนทนากับผู้ที่ไม่พึงประสงค์ได้

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

CDMA

..CDMA..

CDMA (Code Division Multiple Access) เป็นรูปแบบของเทคโนโลยีการสื่อสารอีกประเภทหนึ่งที่มีให้บริการอย่างแพร่ หลาย ได้รับการคิดค้นและพัฒนาโดยบริษัท Qualcomm ระบบ CDMA จะทำงานโดยการแปลงคลื่นเสียงไปเป็นข้อมูลดิจิแบบตอล และถูกนำไปเข้ารหัสเฉพาะสำหรับการใช้งานในแต่ละครั้ง ซึ่งทำให้ระบบ CDMA นั้นสามารถรองรับการใช้งานจากเครื่องลูกข่ายได้ในจำนวนมาก ในระบบ CDMA นั้นยังแบ่งเทคโนโลยีออกไปได้หลายแบบ อาทิเช่น CDMA One (IS-95A และ IS-95B), CDMA 2000 1x และ CDMA 2000 1xEVCDMA 2000 1xเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาจาก CDMA เดิม โดยได้เพิ่มความสามารถในด้านการรองรับการใช้งานโทรศัพท์ และการรับส่งข้อมูลให้มีความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 153 kbps ทำให้สามารถใช้งานมัลติมีเดียได้สะดวกมากขึ้นCDMA 2000 1xEVเป็นอีกเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาจาก CDMA 2000 1x เดิมโดยได้แบ่งออกเป็นสองแบบคือ CDMA 2000 1xEV-DO หรือ Data Optimized ซึ่งเป็นการพัฒนาความสามารถในด้านการใช้งานรับส่งข้อมูลให้มีความเร็วสูง ขึ้นถึง 2.4 Mbps และอีกแบบหนึ่งคือ CDMA 2000 1xEV-DV หรือ Data and Voice ซึ่งเป็นการพัฒนาให้รองรับทั้งการใช้งานเสียงและข้อมูลที่ดียิ่งขึ้น

ประโยชน์ของ CDMA2000 1xตอบสนองเรื่องการรองรับเสียงและข้อมูลเทคโนโลยี CDMA2000 1x สามารถรองรับการส่งสัญญาณทั้งในรูปของของเสียงและข้อมูล ผ่านช่องสัญญาณระบบ CDMA มาตรฐาน ขนาด 1.25 MHz ซึ่งให้ประสิทธิภาพเหนือกว่าเทคโนโลยีอื่นๆ หลายประการ• ข้อที่ 1 ระบบ CDMA ที่พัฒนาขึ้นใหม่ มีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบ CDMA ในยุคแรกถึง 2 เท่า (รวมทั้งมีประสิทธิภาพเหนือชั้นกว่าระบบ CDMA และ GSM) ทั้งยังสามารถรองรับการให้บริการด้านเสียงที่มีปริมาณการใช้งานเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายในรูปแบบใหม่• ข้อที่ 2 ระบบ CDMA2000 1x สามารถรับส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็วโดยเฉลี่ยที่ 50-90 kbps (ซึ่งเร็วกว่าความเร็วโดยเฉลี่ยในการต่อสัญญาณโทรศัพท์) โดยมีอัตราการส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดที่ 153 kbpsโทรศัพท์ระบบ CDMA2000 1x ยังสามารถเปิดเครื่องรอรับสายได้นานกว่า เนื่องจากระบบ CDMA2000 1x ได้รับการพัฒนาบนพื้นฐานของเทคโนโลยี CDMA ในยุคแรก จึงทำให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถอัพเกรดระบบของตนได้ง่ายดาย และในราคาประหยัด สำหรับผู้ใช้โทรศัพท์มือถือสามารถใช้เครื่องเดิมของตน ติดต่อผ่านโครงข่ายที่ได้รับการอัพเกรดใหม่โดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่องแต่ อย่างใดนั้นหมายความว่า หากนึกถึง CDMA แล้ว จะนึกถึง มัลคิมีเดีย คือภาพและเสียง นั่นหมายความว่า อาจจะมีการถ่ายทอดสดโทรทัศน์ผ่านระบบ CDMA หรือซื้อภาพยนตร์ผ่านมือถือรับชมได้จากหน้าจอโทรศัพท์เลยก็เป็นได้แน่นอนว่า ระบบใหม่ ย่อมดีกว่าระบบเก่า แม้ว่า CATCDMA จะเปิดตัวเมื่อประมาณปลายปีที่แล้วก็ตาม แต่สำหรับพื้นที่การให้บริการ จะเป็นเรื่องใหญ่อยู่ เพราะมีการขยายสัญญาณครอบคลุม แต่ไม่ครบทุกจังหวัด

วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

-WelcomE To My BloG-

สวัสดีเพื่อนทุกคน >.<"

ในโอกาสนี้ เราจะได้ติดต่อสื่อสารกัน
ผ่านบล็อกนี้..

.....ยินดีต้อนรับ.....