วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

ระบบปฏิบัติการ Apple

ระบบปฏิบัติการ Apple
ความสมบูรณ์แบบสำหรับทุกๆอย่างในทุกๆวัน
เพราะ Mac มาพร้อมทุกอย่างที่จำเป็นสำหรับอีเมล, ตารางเวลา, contacts, เล่นอินเตอร์เน็ท รวมถึงสิ่งอื่นๆ ที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ
Mac OS X Snow Leopard
ฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ที่ออกแบบมาให้ทำงานร่วมกัน
ครั้งแรกที่ใช้ Mac คุณจะรู้สึกได้ถึงความได้เปรียบของการที่ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ และระบบปฏิบัติการ ถูกสร้างขึ้นมาโดยบริษัทเดียวกัน อย่างเช่น Multi-Touch trackpad ใน MacBook ทุกเครื่อง และ Mac OS X Snow Leopard ที่รองรับ Multi-Touch gesture เพื่อให้คุณสามารถคลิกขวา, scroll ขึ้นลงโดยใช้สองนิ้ว, ใช้สามนิ้วลากเพื่อพลิกเปลี่ยนหน้าเว็บ และอีกมาก
ใช้ร่วมกับ Windows ได้
Mac สามารถทำงานกับโปรแกรมของ Microsoft Office อย่าง Word, Excel และ PowerPoint รวมทั้งสามารถใช้ระบบปฏิบัติการ Windows ทำให้ใช้งานร่วมกับโลกของ PC ได้±1 ไม่ว่าจะเป็นการแชร์เอกสารกับชาว PC, ปริ้นเอกสารกับ printer ที่ออฟฟิศหรือที่โรงเรียน, หรือใช้เน็ทเวิร์คของ Windows
Wi-Fi พร้อม
Mac มี Wi-Fi ในตัว2 และเชื่อมต่อกับเน็ทเวิร์ค (รวมถึงเน็ทเวิร์คของ Windows) ได้ด้วยการคลิกไม่กี่ครั้งโดยไม่ต้องเสียเวลาตั้งค่า เพราะ Mac จะทำทุกอย่างที่เหลือให้เอง

ระบบปฏิบัติการ Chrome

ระบบปฏิบัติการ Chrome

Chrome OS จะใช้แก่น (kernel) ของระบบปฏิบัติการลินุกซ์เป็นแกนกลาง จากนั้นกูเกิลจะพัฒนาซอฟต์แวร์ส่วนติดต่อผู้ใช้ของตัวเองเพิ่มเข้าไป เป้าหมายหลักของระบบปฏิบัติการนี้คือบูตเครื่องให้เร็วที่สุด และเปิดเว็บเบราว์เซอร์ Chrome ขึ้นมาให้ผู้ใช้เข้าถึงบริการต่างๆ ของกูเกิลที่อยู่บนเว็บเพจได้
ระบบปฏิบัติการ Chrome OS จะเน้นไปที่ตลาดเน็ตบุ๊ก (โน้ตบุ๊กขนาดเล็กที่กำลังได้รับความนิยม) กูเกิลจะแจกฟรีและเปิดเผยซอร์สโค้ด ปัจจุบันมีผู้ผลิตเน็ตบุ๊กหลายรายเข้าร่วมกับกูเกิลแล้ว เช่น Acer, ASUS, HP, Lenovo, Toshiba เป็นต้น
Chrome OS จะเป็นคนละตัวกับ Android ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการบนมือถืออีกตัวของกูเกิล ทั้งคู่พัฒนาบนฐานของลินุกซ์เหมือนกัน และประกาศเป็นโอเพนซอร์สเหมือนกัน เพียงแต่มีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน
กูเกิลประกาศว่าระบบปฏิบัติการ Chrome OS จะเริ่มออกให้ใช้จริงได้ในครึ่งหลังของปี 2010
บทวิเคราะห์ SIU
ถึงแม้ว่ากูเกิลจะหันมาทำระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์อย่างจริงจัง แต่ก็ไม่ได้แปลว่ากูเกิลจะกลายมาเป็นคู่แข่งทางตรงกับไมโครซอฟท์ และกูเกิลเองก็ฉลาดพอที่จะเลี่ยงการแข่งขันกับไมโครซอฟท์ตรงๆ
ระบบปฏิบัติการอย่างวินโดวส์และแมคอินทอชนั้นเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับงานทั่วไป (generic OS) ซึ่งสามารถนำมาทำอะไรก็ได้ ตั้งแต่พิมพ์งาน เล่นเน็ต ไปจนถึงทำกราฟฟิกสามมิติหรือออกแบบห้องเครื่องของรถยนต์
แต่ Chrome OS นั้นเป็นระบบปฏิบัติการที่ค่อนข้างเฉพาะคือเอาไว้เล่นเน็ตเป็นหลัก ความต่างอยู่ที่กูเกิลพยายามจะเปลี่ยนซอฟต์แวร์แบบเดิมๆ ที่ใช้กันมานานให้ไปอยู่บนเว็บ เช่น Google Docs คือโปรแกรม Microsoft Word เวอร์ชันใช้งานผ่านหน้าเว็บนั่นเอง อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าซอฟต์แวร์ทุกตัวจะสามารถแปลงไปอยู่บนเว็บได้ทั้งหมด ยังไงตลาดระบบปฏิบัติการแบบดั้งเดิมของไมโครซอฟท์ก็จะคงอยู่ไปอีกนาน
ทั้ง Chrome OS และเว็บเบราว์เซอร์ Chrome ไม่ใช่ธุรกิจหลักของกูเกิล แต่เป็น “ช่องทาง” ที่จะทำให้ลูกค้าเข้าสู่ธุรกิจหลักของกูเกิลได้ต่างหาก กูเกิลทำเงินได้เป็นกอบเป็นกำจากโฆษณาออนไลน์ ดังนั้น กูเกิลจะทำทุกอย่างเพื่อให้คนเข้าใช้บริการของกูเกิลอย่าง Gmail, Google Maps หรือ Google Docs ให้มากที่สุด เพื่อเพิ่มยอดขายโฆษณาของตัวเอง สิ่งที่เราเห็นในช่วง 3-4 ปีให้หลัง ไม่ว่าจะเป็นมือถือที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android, Chrome และ Chrome OS ล้วนแต่เป็นเครื่องมือที่ให้คนเข้าเว็บในเครือกูเกิลเยอะๆ เท่านั้น
ในอดีตกูเกิลพึ่งพิงบริษัทหรือหน่วยงานอื่นๆ ในการพัฒนาซอฟต์แวร์เหล่านี้ เช่น Mozilla ที่ทำเบราว์เซอร์ Firefox หรือแอปเปิลที่ทำระบบปฏิบัติการ iPhone แต่สุดท้ายกูเกิลก็เริ่มเรียนรู้ว่าต้องเป็นผู้ควบคุมเทคโนโลยีเองเท่านั้น จึงจะมีอำนาจเต็มในการกำหนดทิศทางการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้เป็นไปอย่างที่กูเกิลต้องการ
ตลาดหลักของ Chrome OS จะเป็นอุปกรณ์ชนิดใหม่ๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้น เช่น เน็ตบุ๊กหรือ tablet pc ที่ใช้ท่องเน็ตเป็นหลัก กูเกิลจะไม่สนใจตลาดพีซีหรือโน้ตบุ๊กที่ไมโครซอฟท์และแอปเปิลครองอยู่แล้ว กลยุทธ์นี้เป็นกลยุทธ์เดียวกับที่กูเกิลสร้าง Android จับตลาดมือถือสมาร์ทโฟนที่เพิ่งบูมเมื่อเร็วๆ นี้ ความสำเร็จของ Chrome OS ขึ้นกับว่ากูเกิลพยากรณ์ตลาดอุปกรณ์เหล่านี้ว่าจะมีอนาคตสดใสมากเพียงใด ไมโครซอฟท์จะยังเป็นบริษัทที่ทรงอิทธิพลต่อไป แต่จะไม่ใช่ไมโครซอฟท์อภิมหาอำนาจเช่นเดียวกับยุค 90s-2000s อีกแล้ว

ระบบปฏิบัติการ Unix ()

ระบบปฏิบัติการ Unix ()

มีต้นกำเนิดจากห้องปฏิบัติการวิจัย Bell ประเทศสหรัฐอเมริกา โดย Ken Thompson และ Dennis Ritchie ปี พ.ศ. 2512 โดยมีที่มาคร่าวๆ คือสถาบัน MIT (Massascusetts Institute of Technology), ห้องปฏิบัติการวิจัย AT&T Bell Labs และบริษัท GE (General Electric) ร่วมกันพัฒนาโครงการ Multics ในปี 1960 เพื่อพัฒนาระบบปฏิบัติการสำหรับ Mainframe Computer รุ่น GE 635 โดยให้ระบบปฏิบัติการนี้มีความสามารถทำงานแบบโต้ตอบ (Interactive) มีระบบอำนวยความสะดวกต่อการใช้แฟ้มและข้อมูลร่วมกันได้ แต่เกิดปัญหาหลายประการ จนกระทั่ง Bell Labs ได้ลาออกจากโครงการ แต่โครงการก็ยังดำเนินการต่อโดย Ken Thompson และ Dennis Ritchie ซึ่งทำงานกับ Bell Labs พร้อมๆ กันไปด้วย ต่อมา Ken & Dennis ได้ร่วมกันพัฒนาระบบปฏิบัติการใหม่ เพื่อทำงานบนเครื่อง PDP-7 และใช้ชื่อว่าระบบปฏิบัติการ UNIX เพื่อให้ออกเสียงใกล้เคียงกับระบบ Multics ดังนั้นต้นกำหนดของ UNIX ก็คือ Multics นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นชื่อ ระบบแฟ้มข้อมูลที่ใช้ แนวคิดของตัวแปรคำสั่ง (Shell) หลังจากนั้นทั้งสองได้พัฒนามาเป็น Version 2 เพื่อทำงานบนเครื่องรุ่น PDP-11/20 โดยใช้ภาษา Assembly และได้พัฒนาปรับปรุงด้วยภาษา C (ภาษา C ก็พัฒนาที่ห้องวิจัย Bell Labs เช่นกัน เพื่อทำงานบนระบบ UNIX) และเผยแพร่ไปสู่มหาวิทยาลัยต่างๆ ด้วย Version 6 ในปี ค.ศ. 1976ในปี ค.ศ. 1978 Version 7 ก็ถูกพัฒนาออกมา ซึ่งเป็นต้นแบบของระบบ UNIX รุ่นใหม่ๆ หลังจากนั้น AT&T ซึ่งเป็นองค์กรแม่ของ Bell Labs ได้เป็นผู้รับผิดชอบ และควบคุมการออกตัวระบบปฏิบัติการ UNIX ดังนั้น UNIX จึงกลายเป็นผลิตภัณฑ์ แทนที่จะเป็นเครื่องมือวิจัย AT&T ได้พัฒนา UNIX ออกมาใช้งานภายนอก ภายใต้ชื่อ System III ในปี 1982 และปี 1983 ก็ออก System V และพัฒนามาเรื่อยๆ จนได้รับความนิยมในปัจจุบันหลังจากนั้นก็มีผู้พัฒนา UNIX เพิ่มขึ้นมา เช่น University of California at Berkley ได้พัฒนา BSD UNIX (Berkley Software Distribution) ต่อมาหน่วยงานกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ (Defense Advanced Research Projects Agency - DARPA) ได้ให้ทุนกับ Berkley ในการพัฒนา UNIX และเกิด Version 4BSD เพื่อสนับสนุนเครือข่ายของ DARPA ที่ใช้โปรโตคอลในการสื่อสาร คือ TCP/IP Version ล่าสุดของ Berkley คือ 4.4BSD ที่ออกมาในปี ค.ศ. 1993 โดยมีความสามารถสนับสนุน Protocol X.25 หลังจากนั้น Berkley ก็หยุดการพัฒนา UNIX นอกจาก Berkley ยังมีผู้พัฒนารายอื่น เช่น บริษัทซันไมโครซิสเต็ม ก็ได้พัฒนา SunOS และ Solaris บริษัท DEC ได้พัฒนา Ultrix และเปลี่ยนชื่อเป็น OSF/1 บริษัทไมโครซอฟต์พัฒนา XENIX บริษัทไอบีเอ็มพัฒนา AIX แต่ไม่ว่าจะเป็นค่ายใดก็ตาม ต่างก็ยึดแนวทางของ BSD หรือไม่ก็ Sytem V ทั้งนั้นปัจจุบัน UNIX เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน (Registered Trademark) ของหน่วยงานที่ชื่อ The Open Group ซึ่งจะทำการกำหนด และรับรองมาตรฐานของระบบปฏิบัติการ UNIX ระบบปฏิบัติการ UNIX มี 2 ลักษณะ คือระบบปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน UNIX เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้มาตรฐานของ The Open Group ในการพัฒนาขึ้นมา เช่น Digital UNIX, SCO UNIX, IBM's OpenEdition MVS ระบบปฏิบัติการคล้าย UNIX (UNIX Compatible) เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะคล้ายระบบ UNIX แต่ยังไม่ได้จดทะเบียน รับรองเป็นทางการ เช่น Sun Solaris, IBM AIX, Linux

ระบบปฏิบัติการ DOS

ระบบปฏิบัติการ DOS

ระบบปฏิบัติการ (operating system) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบซอฟต์แวร์ ระบบปฏิบัติการประกอบขึ้นจากชุดโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการดำเนินการต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ และประสานการทำงานระหว่างทรัพยากรต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนที่เป็นซอฟต์แวร์และส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์ให้เป็นไปย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ระบบคอมพิวเตอร์ในระดับไมโครคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปใช้ระบบปฏิบัติการที่จัดเก็บอยู่บนแผ่นบันทึกหรือฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อของ เอ็มเอสดอส (Microsort Disk Operating System : MS-DOS) ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์คอร์ปอเรชัน ระบบปฏิบัติการนี้ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการของผู้ใช้และพัฒนาการทางด้านซอฟต์แวร์และฮารด์แวร์


การเริ่มต้นทำงานของระบบปฏิบัติการดอส
การเริ่มต้นทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะเริ่มต้นโดยอัตโนมัติจากส่วนของชุดคำสั่งที่จัดเก็บอยู่ บนหน่วยความจำของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้อ่านได้อย่างเดียวที่เรียกว่ารอม (Read Only Memory : ROM) คำสั่งเหล่านี้จะทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์พื้นฐานและทำการบรรจุระบบปฏิบัติการจากแผ่นบันทึกหรือฮาร์ดดิสก์ ขึ้นสู่หน่วยความจำหลัก หลังจากนี้การควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะถูกบรรจ ุไปอยู่บนหน่วยความจำหลักเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โปรแกรมหนึ่งในระบบปฏิบัติการดอสที่ถูกบรรจุคือ โปรแกรมคำสั่งที่มีชื่อว่า command.com และกระบวนการเริ่มต้นการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนี้เรียกกันทั่วไปว่า การบูทเครื่อง (boot) คอมพิวเตอร์
การบูทเครื่องคอมพิวเตอร์มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธีคือ
1. Cold Boot คือการเปิดเครื่องด้วยสวิตช์ปิดเปิดเครื่อง (power)
2. Worm Boot คือ จะใช้วิธีนี้ในขณะที่เครื่องเปิดอยู่ ในกรณีที่เครื่องค้าง (Hank) เครื่องไม่ทำงานตามที่เราป้อนคำสั่งเข้าไป การบูทเครื่องแบบนี้สามารถกระทำได้อยู่ 2 วิธีคือ
1. กดปุ่ม Reset
2. กดปุ่ม Ctrl+Alt+Del พร้อมกัน แล้วปล่อยมือ

ภาพแสดงหน้าจอการบูทเครื่องด้วยระบบปฏิบัติการดอส

ชนิดคำสั่ง DOS
คำสั่งของ DOS มีอยู่ 2 ชนิดคือ
1. คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่เรียกใช้ได้ทันทีตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งานอยู่ เพราะคำสั่งประเภทนี้ถูกบรรจุลงในหน่วยความจำหลัก (ROM) ตลอดเวลา หลังจากที่ Boot DOS ส่วนมากจะเป็นคำสั่งที่ใช้อยู่เสมอ เช่น CLS, DIR, COPY, REN เป็นต้น
2. คำสั่งภายนอก (External Command) คำสั่งนี้จะถูกเก็บไว้ในดิสก์หรือแผ่น DOS คำสั่งเหล่านี้จะไม่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ เมื่อต้องการใช้คำสั่งเหล่านี้คอมพิวเตอร์จะเรียกคำสั่งเข้าสู๋หน่วยความจำ ถ้าแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ไม่มีคำสั่งที่ต้องการใช้อยู่ก็ไม่สามารถเรียกคำสั่งนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น คำสั่ง FORMAT, DISKCOPY, TREE, DELTREE เป็นต้น
รูปแบบและการใช้คำสั่งต่าง ๆ
ในการใช้คำสั่งต่าง ๆ ของ DOS จะมีการกำหนดอักษรหรือสัญญลักษณ์ ใช้แทนข้อความของรูปแบบคำสั่ง ดังนี้
[d:] หมายถึง Drive เช่น A:, B:
[path] หมายถึง ชื่อไดเรคเตอรี่ย่อย
[filename] หมายถึง ชื่อแฟ้มข้อมูล หรือ ชื่อไฟล์
[.ext] หมายถึง ส่วนขยาย หรือนามสกุล
หมายเหตุ ข้อความที่อยู่ในวงเล็บ ([ ] ) ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใส่ในคำสั่ง

รูปแบบและการใช้คำสั่งภายใน (Internal Command)
คำสั่ง หน้าที่ รูปแบบ
CLS (CLEAR SCREEN) ลบข้อมูลบนจอภาพขณะนั้น CLS
DATE แก้ไข/ดูวันที่ให้กับ SYSTEM DATE
TIME แก้ไข/ดูเวลา ให้กับ SYSTEM TIME
VER (VERSION) ดูหมายเลข (version) ของดอส VER
VOL (VOLUME) แสดงชื่อของ DISKETTE VOL [d:]
DIR (DIRECTORY) ดูชื่อแฟ้มข้อมูล, เนื้อที่บนแผ่นดิสก์, ชื่อแผ่นดิกส์ DIR [d:] [path] [filename [.ext]] [/p] [/w]
/p หมายถึง แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลทีละ 1 หน้าจอภาพ ถ้าต้องการดูหน้าต่อไปให้กดแป้นใด ๆ

/w หมายถึง แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลตามความกว้างของจอภาพ
TYPE แสดงเนื้อหาหรือข้อมูลในแฟ้มข้อมูลที่กำหนด TYPE [d:] [path] [filename.[.ext]]
COPY ใช้คัดลอกแฟ้มข้อมูลหนึ่ง หรือหลายแฟ้มข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลต้นทาง ไปยังแฟ้มข้อมูลปลายทาง อาจจะเป็นจากแผ่นดิสก์แผ่นหนึ่งหรือแผ่นดิสก์เดิมก็ได้ COPY [d:] [path] [filename[.ext]] [d:] [path] filename[.ext]]
REN (RENAME] เปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูล (ข้อมูลข้างในแแฟ้มข้อมูลยังเหมือนเดิม) REN [d:] [path] [oldfilename[.ext]] [newfilename[.ext]]
DEL (DELETE) ลบแฟ้มข้อมูลออกจากแฟ่นดิสก์ DEL [d:] [path] [filename[.ext]]
PROMPT COMMAND เปลี่ยนรูปแบบตัวพร้อมรับคำสั่ง (system prompt) เป็นตัวใหม่ตามที่ต้องการ PROMPT [prompt-text] or propt $p$

$ หมายถึงตัวอักษร
t หมายถึง เวลา
d หมายถึง วัน เดือน ปี
p หมายถึง เส้นทาง Directory ปัจจุบัน
v หมายถึง DOS VERSION NUMBER
g หมายถึง เครื่องหมาย >
l หมายถึง เครื่องหมาย <
q หมายถึง เครื่องหมาย =
MD (MAKE DIRECTORY) สร้าง subdirectory (ห้องย่อย) เพื่อจัดเก็บแฟ้มข้อมูล MD [d:] [path] [Dir_name]
CD (CHANGE DIRECTORY) เป็นคำสั่งในการเปลี่ยนไปใช้งาน subdirectory ที่ต้องการ CD [d:] [path] [Dir_name]
CD\ (การย้ายกลับมาสู่ ROOT DIRECTORY
CD.. (การย้ายกลับมาที่ DIRECTORY)
RD (REMOVE DIRECTORY) ลบ subdirectory (ห้องย่อย) ที่สร้างด้วยคำสั่ง MD RD [d:] [path] [Dir_name]

คำสั่งภายนอก(EXTERNAL COMMAND)
คำสั่งภายนอกมี 2 นามสกุล
1.นามสกุลเป็น .COM เป็น file ที่บรรจุข้อมูลที่ถูกแปลงเป็นภาษาเครื่องแล้ว
2.นามสกุลเป็น .EXE เป็น file ที่บรรจุข้อมูลที่เขียนโดยใช้ภาษาระดับสูงและแปลงเป็นภาษาเครื่องแล้ว คำสั่ง หน้าที่ รูปแบบ
TREE แสดงรายชื่อ directory ทั้งหมดในแผ่นดิสก์ ที่กำหนด TREE [d:] [/f]

/f หมายถึงรายชื่อแฟ้มข้อมูลในแต่ละ subdirectory ด้วย
SYS (SYSTEM) เป็นคำสั่ง copy แฟ้มข้อมูลที่ใช้ในการเปิดเครื่องลงในแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ ที่ไม่มีระบบ (เปิดเครื่องไม่ได้) SYS [d:]
CHKDSK (CHECK DISK) ตรวจสอบ directory หรือ file แสดงจำนวน memory ที่ใช้ไปและที่เหลืออยู่ รวมถึงเนื้อที่ บนแผ่นดิสก์ที่ใช้ไป และที่เหลืออยู่ CHKDSK [d:] [path] [filename[.ext]] [/f] [/v]

/f หมายถึง การตรวจสอบเนื้อที่ที่เสียหาย

/v หมายถึง ให้แสดง directory และ แฟ้มข้อมูลที่ซ่อนอยู่
LABEL เพื่อกำหนดชื่อ (volume label), เปลี่ยนหรือลบ volume label บนดิสก์ LABEL [d:] [volume label]
FORMAT กรณีที่ diskette ใหม่ จะเป็นการจัด track และ sector ของ diskette ใหม่ เพื่อให้เขียนข้อมูล
กรณีที่เป็น diskette ที่มีข้อมูลอยู่แล้วเมื่อใช้คำสั่งนี้ข้อมูลจะถูกล้างไปหมด พร้อมที่เขียนข้อมูลใหม่
FORMAT [d:] [/s] [/v]
/s หมายถึง ทำการ format โดยทำการคัดลอก โปรแกรมระบบดอส (BIO.COM, OS.COM, COMMAND.COM)
/v หมายถึง กำหนด volume label ให้ดิสก์
DISKCOPY (COPY DISKETTE เป็นคำสั่งที่ใช้ copy file ทั้งหมดจากแผ่นดิสก์จากแผ่นหนึ่งไปใส่อีกแผ่นหนึ่ง แต่ถ้าแผ่นดิสก์อีกแผ่น ยังไม่ได้ทำการ format ก็จะทำการ format ให้โดยอัตโนมัติ DISKCOPY [d:] [d:]

วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

บริการข้อมูลมัลติมิเดีย

บริการข้อมูลมัลติมิเดีย
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ เปิดให้บริการศูนย์มัลติมีเดียเพื่อสนับสนุนงาน การเรียนการสอน และการวิจัยโดยจัดให้มีการบริการ เพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ ด้านมัลติมีเดียอย่างครบครัน ทันต่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ ได้แก่
บริการถ่ายภาพ - บริการถ่ายภาพติดบัตรพร้อมพิมพ์ ด้วยกล้องถ่ายภาพแบบดิจิตอล
บริการพิมพ์สี/พิมพ์โปสเตอร์ - ให้บริการพิมพ์งานด้วยเครื่องพิมพ์สี และเครื่องพิมพ์โปสเตอร์สี ขนาด A4 - A0
บริการแปลงข้อมูล - แปลงภาพจากแผ่นสไลด์หรือภาพถ่ายเป็นไฟล์ข้อมูลแบบดิจิตอล (JPG) - แปลงภาพจากวิดีโอหรือกล้องวิดีโอแบบดิจิตอลเป็นไฟล์ข้อมูลภาพแบบดิจิตอล (MPEG, AVI) ลงแผ่นซีดี- แปลงข้อมูลเสียง (ในแผ่นซีดีหรือเทปบันทึกเสียง) เป็นไฟล์ข้อมูลเสียงแบบดิจิตอล (WAV, MP3) - แปลงไฟล์เอกสารดิจิตอลเป็นไฟล์แบบ PDF
บริการสำเนาซีดี บริการสำเนาซีดีด้วยเครื่องเขียนซีดีความเร็วสูง มีทั้งระบบการเขียนผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ และระบบการเขียนด้วยเครื่องทำสำเนาซีดีแบบอัตโนมัติ
Edutainment Media Square มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีนโยบาย ในการพัฒนามหาวิทยาลัยไปสู่มหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์ โดยได้ดำเนินการพัฒนาระบบโครงสร้างเทคโนโลยีสารสนเทศเครือข่าย หลักความเร็วสูง ให้มีความสามารถในการรองรับการกระจายของสื่อต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้มีการประยุกต์ใช้งานในหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้เกิดความบันเทิง และผ่อนคลายจากการทำงานของบุคลากร และการเล่าเรียนของนิสิต ประกอบไปด้วยNontri TV - View TV online เป็นระบบการประยุกต์ใช้งานเครือข่าย เพื่อการถ่ายทอดการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์จำนวน 6 ช่องผ่านเครือข่าย เพื่อเกิดประโยชน์และการใช้งานสูงสุด และเป็นแนวทางในการประยุกต์การ ใช้งานเครือข่ายเพื่อกิจการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เช่น ระบบถ่ายทอดสื่อการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย งานด้านระบบความปลอดภัยในมหาวิทยาลัย ซึ่งรวมถึงการรายงานสภาพการจราจรภายในและบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัย ตลอดจนการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่ทันเหตุการณ์ Nontri Live - Live Now เป็นระบบการถ่ายทอดสด กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยจะออกอากาศสดตามตารางเวลา และให้รับชมการถ่ายทอดสด ได้ผ่านทางเว็บเพจ และเมื่อผ่านการถ่ายทอดสดก็จะอัดเก็บเอาไว้เพื่อเรียกดูในภายหลังได้

บริการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล

บริการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล

บริการการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล หรือบริการ FTP (File Trasfer Protocol) เป็นบริการของอินเทอร์เน็ตอย่างหนึ่งที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนิยมใช้ โดยผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ข้อมูลตัวหนังสือ รูปภาพ เสียง วีดิโอ หรือโปรแกรมต่างๆ ซึ่งการถ่ายโอนข้อมูลนั้นมีอยู่ 2 ลักษณะคือ
การถ่ายโอนไฟล์ข้อมูลที่อยู่ในเครื่องของเราไปยังคอมพิวเตอร์ที่เป็นโฮสต์ (Host) เรียกว่า การอัปโหลด (Upload) ทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นสามารถใช้งานจากข้อมูลของเราได้
การที่เราถ่ายโอนไฟล์ข้อมูลจากโฮสต์อื่นมายังคอมพิวเตอร์ของเราเรียกว่า การดาวน์โหลด (Download)
ในการนำดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ มาใช้นั้น มีบริการอยู่ 2 ประเภท คือ Private FTP หรือ เอฟทีพีเฉพาะกลุ่ม นิยมใช้ตามสถานศึกษาและภายในบริษัท ผู้ใช้บริการจะต้องมีรหัสผ่านเฉพาะจึงจะใช้งานได้ ประเภทที่สองคือ Anonymous FTP เป็นเอฟทีพีสาธารณะให้บริการดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลฟรีโดยไม่ต้องมีรหัสผ่าน ซึ่งปัจจุบันมีบริการในลักษณะนี้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะโปรแกรมซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ที่ทางบริษัทต่างๆ คิดค้นขึ้นมาและต้องการเผยแพร่ไปสู่สาธารณชน ก็จะนำโปรแกรมมานำเสนอไว้ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตคนใดสนใจก็สามารถใช้เอฟทีพีดึงเอาโปรแกรมเหล่านั้นมาใช้งานได้ โดยโปรแกรมที่สามารถดาวน์โหลดได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เรียกว่า ฟรีแวร์ (Freeware) และโปรแกรมที่สามารถดาวน์โหลดมาทดลองใช้ก่อน ซึ่งหากพอใจก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อตัวโปรแกรม เรียกว่า แชร์แวร์ (Shareware)

บริการด้านการรับส่งข่าวสารและแสดงความคิดเห็น

บริการด้านการรับส่งข่าวสารและแสดงความคิดเห็น

เป็นบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีเครื่องมือในการรับส่งข่าวสารและแสดงความคิดเห็น ระหว่างผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตหลายหลายวิธีการ ดังนี้
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
อีเมล์ หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นบริการอินเทอร์เน็ตชนิดหนึ่งที่ผู้คนนิยมใช้มากที่สุด และเป็นประโยชน์ต่อคนทั่วไป ให้สามารถติดต่อรับส่งข้อมูลระหว่างกันได้อย่างรวดเร็ว
อีเมล์ เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ย่อมาจาก Electronic Mail ในภาษาไทยบางครั้งเรียกว่า จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนในพจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ใช้คำว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยอีเมล์เป็นวิธีการติดต่อสื่อสารด้วยตัวหนังสือแบบใหม่ แทนจดหมายบนกระดาษ แต่ใช้วิธีการส่งข้อความในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ จากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังผู้รับอีกเครื่องหนึ่ง
อีเมล์แอดเดรส (E-mail Address) คือ ที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต หรือที่อยู่ของตู้จดหมายของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ใช้สำหรับบอกตำแหน่งของผู้รับว่าอยู่ที่ไหน
ส่วนประกอบของอีเมล์แอดเดรส ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ ดังตัวอย่างนี้
ชื่อบัญชีสมาชิกของผู้ใช้เรียกว่า user name อาจใช้ชื่อจริง ชื่อเล่น หรือชื่อองค์กรก็ได้
ส่วนนี้คือเครื่องหมาย @ (at sign) อ่านว่า "แอท"
ส่วนที่สามคือ โดเมนเนม (Domain Name) เป็นที่อยู่ของอินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ ที่เราสมัครเป็นสมาชิกอยู่ เพื่ออ้างถึงเมล์เซิร์ฟเวอร์
ส่วนสุดท้ายเป็นรหัสบอกประเภทขององค์กรและประเทศ ในที่นี้คือ .co.th โดยที่ .co หมายถึง commercial เป็นบริการเกี่ยวกับการค้า ส่วน .th หมายถึง Thailand อยู่ในประเทศไทย
Mailing List
หรือรู้จักกันทั่วไปในนามของ Listserv’s เป็นบริการที่ผู้ใช้สามารถเข้ากลุ่มร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อที่ตนเองสนใจโดยผ่านทางอีเมล์ โดยจดหมายที่ส่งเข้าสู่ระบบ Mailing List จะถูกส่งไปยังรายชื่อทั้งหมดที่ได้ลงทะเบียนไว้ในระบบ นอกจากนี้ยังใช้ในการลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสารเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลที่มีผู้ใช้สนใจด้วย
นิวส์กรุ๊ป (Newsgroup) หรือ ยูสเน็ต (UseNet)
นิวส์กรุ๊ป (Newsgroup) หรือ ยูสเน็ต (UseNet) คือ การรวมกลุ่มของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน เช่น กลุ่มที่สนใจเรื่องคอมพิวเตอร์ รถยนต์ การเลี้ยงปลา การปลูกไม้ประดับ เป็นต้น เพื่อส่งข่าวสารหรือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างกัน ในลักษณะของกระดานข่าว (Bulletin Board) บนอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้สามารถเลือกหัวข้อที่สนใจและสามารถแสดงความคิดเห็นได้ โดยการส่งข้อความไปยังกลุ่ม และผู้อ่านภายในกลุ่มจะมีการร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นและส่งข้อความ กลับมายังผู้ส่งโดยตรงหรือส่งเข้าไปในกลุ่มเพื่อให้ผู้อื่นอ่านด้วยก็ได้
การสนทนา (Talk)
เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถพูดคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่นๆ ที่เชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ตในเวลาเดียวกัน โดยการพิมพ์ข้อความผ่านทางแป้นพิมพ์ พูดคุยผ่านทางคอมพิวเตอร์โดยมีการตอบโต้กันทันที การสนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ตนี้สามารถใช้โปรแกรมได้หลายโปรแกรม เช่น โปรแกรม Talk สำหรับการสนทนาเพียง 2 คน โปรแกรม Chat หรือ IRC (Internet Relay Chat) สำหรับการสนทนาเป็นกลุ่ม หรือโปรแกรมไอซีคิว (ICQ) เป็นการติดต่อสื่อสารกับคนอื่นๆ บนอินเทอร์เน็ตทางหนึ่ง คุณสมบัติที่โดดเด่นของไอซีคิวคือ การสนทนาแบบตัวต่อตัวกับคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ หรือสนทนาพร้อมกันหลายๆ คนก็ได้ และที่สำคัญคือการใช้ไอซีคิวนั้น ผู้ใช้สามารถเลือกสนทนากับใครโดยเฉพาะ และเลือกที่จะไม่สนทนากับผู้ที่ไม่พึงประสงค์ได้